วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บทที่ 5 สแตก(Stack)

สแตก(Stack) หมายถึง โครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบมาให้มีลักษณะทั้งแบบเป็นเชิงเส้น (Linear Structure) และแบบไม่เป็นเชิงเส้น (Non Linear Structure) เพราะเขียนโปรแกรมได้ทั้งการใช้อาร์เรย์ (Array) และ ลิงค์ลิสต์ (Linklist) การนำข้อมูลเข้าและออกจากสแตกจะมีลำดับการทำงานแบบเข้าหลังออกก่อน (LIFO:Last In First Out) 

ลักษณะของโครงสร้างข้อมูลแบบ Stack
ข้อมูลที่เก็บใน Stack จะเก็บในลักษณะวางทับกัน เช่นเดียวกับการวางจานเรียงซ้อนกัน ข้อมูลตัวแรกจะเป็นข้อมูลที่อยู่ล่างสุดของStack และข้อมูลสุดท้ายจะเป็นข้อมูลที่อยู่บนสุด ของ Stack เมื่อมีการนำข้อมูลออกจาก
Stack ข้อมูลที่อยู่บนสุด นั่นคือข้อมูลที่นำลงสู่ Stack เป็นข้อมูลสุดท้าย จะเป็นข้อมูลที่จะต้องนำออกจาก

Stack 
ก่อน การทำงานลักษณะนี้เรียกว่า LIFO (Last-In-First-Out) 
โครงสร้างข้อมูลแบบ Stack จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่สำคัญ คือ 
1.    ตัวชี้สแตก ( Stack Pointer )  ซึ่งมีหน้าที่ชี้ไปยังข้อมูลที่อยู่บนสุดของ สแตก ( Top stack ) 
2.   สมาชิกของสแตก ( Stack Element ) เป็นข้อมูลที่จะเก็บลงไปในสแตก ซึ่งจะต้องเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน







         
   Operation ของ Stack

 1. Push Stack  เป็น operation สำหรับนำข้อมูลลงใน Stack 
2. Pop Stack  เป็น operation สำหรับนำข้อมูลออกจาก Stack 



    ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสแตก

        สแตกเต็ม   (Full  Stack) 
     สแตกว่าง   (Empty Stack)
     การแปลงนิพจน์ infix ให้เป็น postfix

      นิพจน์ infix  คือนิพจน์ที่มี ตัวดำเนินการ (Operator) อยู่ระหว่างตัวถูกกระทำ (Operand) เช่น  A + B   เครื่องหมาย  +  เป็นโอเปอเรเตอร์ระหว่างโอเปอร์แรนด์  A และ  B  ซึ่งเห็นว่าเป็นนิพจน์ที่มนุษย์คุ้นเคย

       นิพจน์ Postfix คือ นิพจน์คณิตศาสตร์ที่มีตัวดำเนินการอยู่หลังตัวถูกดำถูกกระทำ

     ตัวดำเนินการ ก็คือ เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ สำหรับการคำนวณต่างๆ เรียงตามลำดับการดำเนินการก่อน-หลัง (precedence) ได้แก่

 ยกกำลัง  ^

 คูณ หาร  * , /

 บวก ลบ  + , -

   ถ้าเครื่องหมายมีลำดับการดำเนินการเดียวกัน จะเลือกดำเนินงานของเครื่องหมายจากซ้ายไปขวา (ยกเว้น ยกกำลัง) และถ้ามีวงเล็บจะดำเนินงานสิ่งที่อยู่ในวงเล็บก่อน

  ข้อเสียของนิพจน์ infix ที่ทำให้คอมไพเลอร์ยุ่งยากคือลำดับความสำคัญของโอเปอร์เรเตอร์ (Precedence) ที่ต่างกัน เช่น เครื่องหมายยกกำลัง (^) มีความสำคัญมากกว่าเครื่องหมายคูณ (*) และหาร (/) และเครื่องหมายคูณและหารมีความสำคัญมากกว่าเครื่องหมายบวก (+) และลบ (-) เครื่องหมายใดมีลำดับความสำคัญมากกว่าจะถูกคำนวณก่อน (ถ้าไม่มีวงเล็บกำกับ)

      เช่น  A +  B * C  เครื่องจะคำนวณ  B * C ก่อนแล้วนำผลลัพธ์นั้นไปบวกกับค่า A ซึ่งจะทำงานเหมือนกับ  A + (B * C)  ส่วนนิพจน์ใดที่มีโอเปอร์เรเตอร์ที่มีลำดับความสำคัญเท่ากัน การคำนวณจะกระทำจากซ้ายไปขวา เช่น  A – B + C จะทำ  A – B ก่อน  แล้วจึงนำผลลัพธ์นั้นไปบวกกับค่า  C
     เมื่อการประมวลผลนิพจน์ infix เป็นไปด้วยความยากที่การคำนวณไม่เป็นไปตามลำดับของเครื่องหมายโอเปอร์เรเตอร์ที่มีก่อนหลัง คอมไพเลอร์จึงแปลงนิพจน์ infix ให้เป็นนิพจน์ postfix เสียก่อน ซึ่งนิพจน์ postfix  คือนิพจน์ที่มีโอเปอร์เรเตอร์อยู่หลังโอเปอร์แรนด์ทั้งสองของมัน เช่น
              AB+ หมายถึง      A + B
 AB- หมายถึง      A - B
 AB* หมายถึง      A * B
 AB/ หมายถึง      A / B
 AB^ หมายถึง      A ^ B

ตัวอย่างของการแปลงนิพจน์ Infix เป็น Postfix
             นิพจน์ Infix  :  A – B * C

INPUT
STACK
OUTPUT
A
A
-
A
B
-
AB
*
-*
AB
C
-*
ABC
ABC*-




     สรุปขั้นตอนในการหาผลลัพธ์ของนิพจน์  Postfix
  ค้นหาเครื่องหมายดำเนินการทางซ้ายสุด  ของนิพจน์
  เลือกตัวถูกดำเนินการ2ตัวอยู่ติดกับเครื่องหมายดำเนินการทางซ้าย
  ประมวลผลตามเครื่องหมายดำเนินการนั้น

 แทนที่เครื่องหมายดำเนินการและตัวถูกดำเนินการ  ด้วยผลลัพธ์ที่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น